วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่9

ปรากฏการณ์ซอฟต์แวร์เครือข่ายสังคม (Social Network)

Social Networking Software กำลังเป็นประเด็นร้อนในวงการศึกษาสหรัฐอเมริกาครับ
พวกเราคงรู้จัก myspace กันดี แต่ผมไม่แน่ใจว่าหลายคนจะรู้จัก facebook กันหรือเปล่า ขอเล่าคร่าวๆ แล้วกันนะครับ facebook เป็นซอฟต์แวร์เครือข่ายลักษณะเดียวกับ myspace ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างหน้าเว็บของตัวเอง และใส่ข้อมูลต่างๆ ตามต้องการ (profile page) โดยระบบสามารถค้นหาผู้ใช้ที่มีความสนใจตรงกัน เช่นชอบฟังดนตรีประเภทเดียวกัน มีหนังในดวงใจเรื่องเดียวกัน ผู้ใช้สามารถเพิ่มหรือลบลิงก์ไปสู่ผู้ใช้คนอื่น เพิ่มเป็นเครือข่ายทางสังคมอินเตอร์เน็ต ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ facebook (เคย) เปิดให้บริการเฉพาะนักเรียนนักศึกษาสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ผู้ใช้ต้องลงทะเบียนโดยใช้อีเมล์ของสถาบันการศึกษานั้นๆ เมื่อลงทะเบียนก็จะเข้าสู่สังคมในสถาบันของตน ใส่ข้อมูลส่วนตัว จากนั้นก็เริ่มขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้น ค้นหาเพื่อนเก่าที่เคยเรียนโรงเรียนเดียวกันมา หาเพื่อนใหม่ทั้งในสถาบันเดียวกันหรือต่างสถาบัน ในหน้าเว็บของ facebook มีส่วนประกอบหลักคือส่วนของข้อมูลผู้ใช้ ส่วนแสดงจำนวนเพื่อนในเครือข่าย กิจกรรมที่สนใจ และพื้นที่สาธารณะ (ที่เรียกว่า wall) ซึ่งผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถเขียนข้อความไว้ได้ ข้อความบน wall นี้ผู้ใช้สามารถกำหนดให้เพื่อนในเครือข่ายเห็นหรือเปิดให้ทุกคนเห็นก็ได้ นอกจากนี้ facebook อนุญาตให้ผู้ใช้งานอัพโหลดรูป และให้ผู้ใช้ตั้งกลุ่มทางสังคม หรือแฟนคลับต่างๆ ได้
ด้วยระบบของ facebook บวกกับกลุ่มเป้าหมาย จุดประเด็นทางสังคมมากมายในวงการศึกษา ทั้งมหาวิทยาลัยและโรงเรียน ต่างได้รับผลกระทบจาก facebook
เหตุการณ์สำคัญประการแรกคือ มีกรณีที่นักเรียนและนักศึกษาถูกเพิกถอนทุนการศึกษา หรือภาคทัณฑ์ เพราะใช้ facebook เช่นนักกีฬาโหลดรูปขณะดื่มสุรา หรือในการปาร์ตี้ใน facebook โดยแสดงกริยาไม่เหมาะสม นโยบายของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยก็ต่างกันไปครับ บางแห่งก็อนุญาตให้ใช้ facebook ได้ ขอให้ใช้วิจารณญาณ บางแห่งก็ห้ามใช้ โดยเฉพาะในโรงเรียน อาจมีการห้ามใช้คอมพิวเตอร์ของโรงเรียนเข้าใช้งาน facebook
เหตุการณ์สำคัญประการถัดมาคือการเพิ่มระบบ Mini-feed โดยระบบนี้จะรายงานเหตุการณ์ต่างๆ ของเพื่อนในเครือข่ายของผู้ใช้ เช่น ไมเคิลเพิ่มชื่อของมิเชลเป็นเพื่อน เจมส์ซึ่งเป็นเพื่อนของไมเคิล (แต่ไม่ได้รู้จักมิเชลเลย) ก็จะได้รับ Mini-feed ว่าขณะนี้ ไมเคิลกับมิเชลเป็นเพื่อนกันแล้ว ไม่ทันข้ามคืนที่ระบบ Mini-feed ถูกเพิ่มเข้าไปใน facebook ผู้ใช้งานต่างไม่พอใจและตั้งกลุ่มต่อต้านมากมายใน facebook ส่วนตัวผมเองเชื่อว่า Mini-feed ไม่ได้ทำให้ผู้ใช้ facebook น้อยลง และไม่ช้าก็จะค่อยๆ ชินกันไปเอง
เหตุการณ์ถัดมาคือ การเปิดให้ผู้ใช้บริการทั่วไปใช้งานได้ โดยจัดเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่สังกัดชุมชนต่างๆ เช่นชุมชนในวอชิงตัน หรือกลุ่มคนไทย สามารถเข้าเป็นสมาชิกได้ เป็นการขยายเครือข่ายกว้างขวางออกไป
อ้างอิ่งจาก. http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=vappee&date=06-12-2006&group=1&gblog=5

สัปดาห์ที่8

เครื่อข่ายสังคม
ด้านสังคม SNS เป็นการเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากัน ซึ่งเป็นความสวยงามที่สุดของอินเทอร์เน็ต SNS รายใหญ่อย่าง Hi5 มีสมาชิกอยู่เกือบ 100 ล้าน account ทั่วโลก บางคนมี "เพื่อน" เป็นหลักหมื่นหลักแสนอยู่ในไซเบอร์สเปซ SNS ทำให้คนมีตัวตนอยู่ได้บนไซเบอร์สเปซ เพราะจะต้องแสดงความเป็นตัวเองออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อทำให้ Profile น่าสนใจ และมีชีวิตชีวาที่สุด บ้างก็เน้นไปที่การใส่ข้อมูลเนื้อหา blog รูปถ่ายในชีวิตประจำวัน เรื่องราวเพื่อนคนใกล้ตัว บ้างก็เน้นไปที่ลูกเล่นใส่ glitter หรือตัววิ๊ง ๆ เข้าไป สุดท้ายทำให้เชื่อได้ประมาณหนึ่งว่า มีตัวตนอยู่จริงบนโลกมนุษย์

อ้างอิงจาก http://ngnforum.ntc.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=76&Itemid=48

สัปดาห์ที่7

เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network)
เขียนโดย Administrator
24 ก.พ. 2009 18:58น.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุไรรัตน์ ทองคำชื่นวิวัฒน์
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ปัจจุบันโลกอินเตอร์เน็ตกำลังอยู่ในยุคกลางหรือยุคปลาย ๆ ของ web 2.0 กันแล้ว จึงทำให้มีเว็บไซต์ในลักษณะ Social Networking Service (SNS) ออกมามากมาย เป็นบริการผ่านเว็บไซต์ที่เป็นจุดโยงระหว่างบุคคลแต่ละคนที่มีเครือข่ายสังคมของตัวเองผ่านเน็ตเวิร์คอินเทอร์เน็ต รวมทั้งเชื่อมโยงบริการต่างๆ อย่างเมล เมสเซ็นเจอร์ เว็บบอร์ด บล็อก ฯลฯ เข้าด้วยกันตั้งแต่ Hi5, MySpace, Facebook, Bebo, LinkedIn, Multiply, Ning และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดจะมีส่วนที่คล้ายกันคือ "การแอ๊ดเพื่อน" ตามหลักการ Friend-Of-A-Friend (FOAF) โดยปกติแล้วสิ่งที่ SNS ให้บริการพื้นฐานคือ การให้ผู้สนใจสร้าง profile ลงในเว็บ บางที่อาจอนุญาตให้อัพโหลดไฟล์แบบต่างๆ ไม่ว่าจะภาพ เสียง หรือ คลิปวีดีโอ จากนั้นก็จะมีเรื่องของการ comment (เม้นต์) มี Personal Messeage (PM) ให้คุยส่วนตัวกับเพื่อนบางคน และที่ต้องทำก็คือ ไล่อ่าน ไล่เม้นต์ ไปตาม Profile ของคนอื่นเรื่อยๆ


Social Network ยังไม่มีคำไทยเป็นทางการ มีการใช้คำว่า “เครือข่ายสังคม” บ้าง “เครือข่ายมิตรภาพบ้าง” “กลุ่มสังคมออนไลน์” Social Network นี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีอีกอันนึง ที่สามารถช่วยให้เราได้มามีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของคำว่า Social Network นี้จริงๆ แล้วก็คือ Participation หรือ การมีส่วนร่วมด้วยกันได้ทุก ๆ คน (ซึ่งหวังว่าผู้ที่ติดต่อกันเหล่านั้นจะมีแต่ความปรารถนาดี สิ่งที่ดีๆ มอบให้แก่กันและกัน) ถ้าพูดถึง Social Network แล้ว คนที่อยู่ในโลกออนไลน์คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี และก็คงมีอีกหลายคนที่ได้เข้าไปท่องอยู่ในโลกของ Social Network มาแล้ว ถึงแม้ว่า Social Network จะไม่ใช่สิ่งใหม่ในโลกออนไลน์ แต่ก็ยังเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มคนที่ใช้อินเตอร์เน็ต ทำให้เครือข่ายขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ และจะยังคงแรงต่อไปอีกในอนาคต จากผลการสำรวจจากประเทศสหรัฐอเมริกายืนยันการใช้บริการ Social Network ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และมาแรงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกออนไลน์ ส่วนเว็บไซต์ที่มีจำนวนผู้เข้าชมสูงสุดทั่วโลก ก็เห็นจะเป็น My space, Facebook และ Orkut สำหรับเว็บไซต์ ที่มีเปอร์เซ็นต์เติบโตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวก็เห็นจะเป็น Facebook แต่สำหรับประเทศไทยที่ฮอตฮิตมากๆ ก็คงจะหนีไม่พ้น Hi5

ที่มา. http://ngnforum.ntc.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=76&Itemid=48

ข่าวสับปดาห์ที่6

ปรากฏการณ์ซอฟต์แวร์เครือข่ายสังคม (Social Network)

Social Networking Software กำลังเป็นประเด็นร้อนในวงการศึกษาสหรัฐอเมริกาครับ
พวกเราคงรู้จัก myspace กันดี แต่ผมไม่แน่ใจว่าหลายคนจะรู้จัก facebook กันหรือเปล่า ขอเล่าคร่าวๆ แล้วกันนะครับ facebook เป็นซอฟต์แวร์เครือข่ายลักษณะเดียวกับ myspace ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างหน้าเว็บของตัวเอง และใส่ข้อมูลต่างๆ ตามต้องการ (profile page) โดยระบบสามารถค้นหาผู้ใช้ที่มีความสนใจตรงกัน เช่นชอบฟังดนตรีประเภทเดียวกัน มีหนังในดวงใจเรื่องเดียวกัน ผู้ใช้สามารถเพิ่มหรือลบลิงก์ไปสู่ผู้ใช้คนอื่น เพิ่มเป็นเครือข่ายทางสังคมอินเตอร์เน็ต ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ facebook (เคย) เปิดให้บริการเฉพาะนักเรียนนักศึกษาสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ผู้ใช้ต้องลงทะเบียนโดยใช้อีเมล์ของสถาบันการศึกษานั้นๆ เมื่อลงทะเบียนก็จะเข้าสู่สังคมในสถาบันของตน ใส่ข้อมูลส่วนตัว จากนั้นก็เริ่มขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้น ค้นหาเพื่อนเก่าที่เคยเรียนโรงเรียนเดียวกันมา หาเพื่อนใหม่ทั้งในสถาบันเดียวกันหรือต่างสถาบัน ในหน้าเว็บของ facebook มีส่วนประกอบหลักคือส่วนของข้อมูลผู้ใช้ ส่วนแสดงจำนวนเพื่อนในเครือข่าย กิจกรรมที่สนใจ และพื้นที่สาธารณะ (ที่เรียกว่า wall) ซึ่งผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถเขียนข้อความไว้ได้ ข้อความบน wall นี้ผู้ใช้สามารถกำหนดให้เพื่อนในเครือข่ายเห็นหรือเปิดให้ทุกคนเห็นก็ได้ นอกจากนี้ facebook อนุญาตให้ผู้ใช้งานอัพโหลดรูป และให้ผู้ใช้ตั้งกลุ่มทางสังคม หรือแฟนคลับต่างๆ ได้
ด้วยระบบของ facebook บวกกับกลุ่มเป้าหมาย จุดประเด็นทางสังคมมากมายในวงการศึกษา ทั้งมหาวิทยาลัยและโรงเรียน ต่างได้รับผลกระทบจาก facebook
เหตุการณ์สำคัญประการแรกคือ มีกรณีที่นักเรียนและนักศึกษาถูกเพิกถอนทุนการศึกษา หรือภาคทัณฑ์ เพราะใช้ facebook เช่นนักกีฬาโหลดรูปขณะดื่มสุรา หรือในการปาร์ตี้ใน facebook โดยแสดงกริยาไม่เหมาะสม นโยบายของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยก็ต่างกันไปครับ บางแห่งก็อนุญาตให้ใช้ facebook ได้ ขอให้ใช้วิจารณญาณ บางแห่งก็ห้ามใช้ โดยเฉพาะในโรงเรียน อาจมีการห้ามใช้คอมพิวเตอร์ของโรงเรียนเข้าใช้งาน facebook
เหตุการณ์สำคัญประการถัดมาคือการเพิ่มระบบ Mini-feed โดยระบบนี้จะรายงานเหตุการณ์ต่างๆ ของเพื่อนในเครือข่ายของผู้ใช้ เช่น ไมเคิลเพิ่มชื่อของมิเชลเป็นเพื่อน เจมส์ซึ่งเป็นเพื่อนของไมเคิล (แต่ไม่ได้รู้จักมิเชลเลย) ก็จะได้รับ Mini-feed ว่าขณะนี้ ไมเคิลกับมิเชลเป็นเพื่อนกันแล้ว ไม่ทันข้ามคืนที่ระบบ Mini-feed ถูกเพิ่มเข้าไปใน facebook ผู้ใช้งานต่างไม่พอใจและตั้งกลุ่มต่อต้านมากมายใน facebook ส่วนตัวผมเองเชื่อว่า Mini-feed ไม่ได้ทำให้ผู้ใช้ facebook น้อยลง และไม่ช้าก็จะค่อยๆ ชินกันไปเอง
เหตุการณ์ถัดมาคือ การเปิดให้ผู้ใช้บริการทั่วไปใช้งานได้ โดยจัดเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่สังกัดชุมชนต่างๆ เช่นชุมชนในวอชิงตัน หรือกลุ่มคนไทย สามารถเข้าเป็นสมาชิกได้ เป็นการขยายเครือข่ายกว้างขวางออกไป

ที่ผ่านมา กระดานสนทนา (discussion board) ช่วยให้เราแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้สะดวกขึ้น ช่วยให้เรามีเวลาคิดและเขียนตอบโต้กันได้ ต่อมาบล๊อก (blog) เพิ่มความเป็นเจ้าของให้กับผู้ใช้งาน โดยยังรักษาพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนข้อมูลให้กับเครือข่าย Social Network เป็นปรากฏการณ์ถัดมาที่น่าสนใจ เพราะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สร้างตัวตนในอินเตอร์เน็ตได้มากกว่าสองเทคโนโลยีที่กล่าวมา สร้างวัฒนธรรมใหม่ให้กับคนในรุ่นนี้ สร้างมูลค่าให้กับภาคธุรกิจ Social Network ที่เจาะกลุ่มเป้าหมายเล็กๆ ก็มีมากขึ้นทุกวัน (เช่นกลุ่มเกย์)

ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการคือ กลุ่มคนที่เป็นหัวหอกวิจัยเรื่อง Social Network ล้วนเป็นนักศึกษาปริญญาเอกครับ ไม่มีพวกศาสตราจารย์เข้ามายุ่งเลย ซึ่งอาจเป็นเพราะเรื่องนี้เป็นประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ก็เป็นได้

ผมไม่แน่ใจว่า Social Network จะข้ามกำแพงวัฒนธรรมมาถึงฝั่งเอเชียได้หรือไม่ แต่เชื่อว่าเครือข่ายคล้ายๆ กันนี้กำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกที เครือข่ายที่ว่าคือเครือข่ายหาคู่ครับ ในอเมริกามีสองเจ้าใหญ่ๆ คือ match.com และ eharmony ลองค้นเว็บบ้านเราก็เจอ thailovelinks ครับ หลายคนอาจจะบอกว่าเครือข่ายหาคู่ไม่ได้ต่างกับลุงหนวดในอดีต ผมมองเห็นประเด็นที่แตกต่างสำคัญสองประการครับ หนึ่งคือด้วยระบบอินเตอร์เน็ตทำให้เรามีฐานข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น ค้นหาข้อมูลได้เร็วขึ้น eharmony อ้างว่าสมาชิกของตนแต่งงานวันละเก้าสิบคน (ด้วยระบบที่จำแนกคุณสมบัติแบบเฉพาะเจาะจง) พูดกันตรงๆ คือคุณสามารถหาคนที่เหมาะกับคุณได้เร็วขึ้น ตรงขึ้น
ประการที่สองที่ผมรู้สึกได้เมื่อเทียบกับสถานการณ์ Social Network คือโอกาสที่เราสามารถนำเสนอตัวตน (ที่ไม่ใช่ตัวจริง) ของเราผ่านอินเตอร์เน็ตได้ เหตุผลที่คนเสนอตัวตนแตกต่างกันไปใน Social Network นั้นคงมีมากมาย น่าจะต้องศึกษาวิจัยกันอีกนานครับ แต่สำหรับเว็บหาคู่ ผมฟันธงเลยว่าเป็นตัวตนที่ดี และเป็นรูปแบบในอุดมคติของคนๆ นั้น (เพราะอยากจะหาคู่) จะเรียกว่าเป็นการโกหกก็ไม่เชิงครับ บางคนยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าอยากเป็นอะไรหรืออยากทำอะไร ส่วนบางคนก็เลือกไม่ได้ หรือยังไปไม่ถึงจุดที่ตัวเองอยากจะเป็น สื่อต่างๆ ก็หล่อหลอมความเชื่อของเราเสียจนบิดเบี้ยว ต้องขาว ต้องหุ่นดี ไม่มีสิว หน้าใส
ที่น่าสนใจคือตัวตนในอุดมคติที่เราสร้างขึ้นนี้ ถ้าไปพบกันตัวตนในอุดมคติของอีกคน (อยากมีบ้านสองชั้นนอกกรุงเทพฯ ให้ลูกเข้าโรงเรียนอินเตอร์ อยากมีครอบครัวที่อบอุ่น) เป็นไปได้ไหมว่าจะเพิ่มโอกาสให้ทั้งสองคนไปถึงจุดที่หวังไว้ จะทำให้การแต่งงานยืนยาวขึ้นไหม?

กลับมาด้านการศึกษาบ้านเรา ผมเห็น http://gotoknow.org/ เป็นเว็บบล๊อกที่มีผู้ใช้มากพอสมควรครับ ทั้งครู อาจารย์ นักวิชาการท้องถิ่น เข้าไปเขียนบันทึก มีการให้รางวัล blog ดีเด่น พัฒนาการเว็บนี้น่าสนใจทีเดียวครับ เพราะเป็น blog ฝีมือคนไทย และมีการสร้างศัพท์เฉพาะขึ้นมา (เหมือน wall ใน facebook) ผมเจอคำว่า แพลนเน็ต (ยังไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไร) ป้ายคำ (คำนี้ผมเดาว่าน่าจะหมายถึง cloud)
นับเป็นเว็บการศึกษา (แบบไม่เป็นทางการ) ที่น่าสนใจทีเดียวครับ เว็บนี้เน้นการบริหารความรู้ (knowledge management) ซึ่งผมเองก็ค่อยๆ ติดตามอ่านจากเว็บ gotoknow เป็นหลัก
ใครสนใจเรื่องการศึกษาลองเยี่ยมชมได้ตามสะดวกนะครับ ผมกำลังคิดหาทางเชื่อม bloggang ของผมกับ gotoknow แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะบริหารยังไงดี ...

ที่มา. http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=vappee&date=06-12-2006&group=1&gblog=5